การลอกคราบนั้นเป็นอย่างไร ทำไมถึงลอกคราบไม่ผ่าน

การลอกคราบนั้นเป็นอย่างไร 

การลอกคราบนั้นถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการสำคัญในการเจริญเติบโตของกุ้ง เครย์ฟิชเลยทีเดียวครับ การลอกคราบนั้นแสดงถึงขนาดลำตัวที่โตขึ้น ลูกกุ้งเล็กๆ อาจลอกคราบได้บ่อยถึงสัปดาห์ละ 1 ครั้งเลยทีเดียว โดยระยะห่างในการลอกคราบแต่ละครั้งจะค่อยๆ ยาวนานกว่าเดิมเมื่อกุ้งเติบโตขึ้น ยิ่งโตขึ้นความถี่ในการลอกคราบก็ยิ่งน้อยลง โดยกุ้งเครย์ฟิชที่โตเต็มที่นั้นอาจลอกคราบเพียงปีละครั้งเท่านั้น
การสังเกตุกุ้งที่จะลอกคราบ


ผู้เลี้ยงสามารถสังเกตได้ว่าช่วงที่กุ้งเครย์ฟิชจะลอกคราบ เค้าจะกินอาหารน้อยลง สีสันของลำตัวเริ่มทึบ หรือสีเข้มขึ้นนั่นแหละครับ และกุ้งเครย์ฟิชนั้นก็จะหาที่ปลอดภัยสำหรับหลบซ่อน เพราะว่าช่วงลอกคราบนั้นกุ้งเครย์ฟิชจะมีลำตัวที่อ่อนนิ่ม และอ่อนแอมาก เมื่อได้ที่เหมาะสมแล้วเจ้ากุ้งเครย์ฟิชก็จะค่อนข้างอยู่นิ่งๆ รอเมื่อถึงนาทีก่อนที่จะลอกคราบ บางตัวเมื่อจะถึงนาทีที่จะสลัดเปลือกเก่าออกนั้น ก็อาจหาอะไรกิน กินทุกอย่างที่ขวางหน้าเสมือนกับตุนเสบียงเอาไว้นั่นเอง

อวัยวะที่หายไป จะกลับมาดังเดิม

ไม่ว่าจะเป็นก้าม ขาเดิน หรือขาสำหรับว่ายน้ำที่หลุดหักไปจากการต่อสู้ การขนย้าย หรือการสลัดทิ้งครั้งก่อน กุ้งเครย์ฟิชสามารถซ่อมแซมโดยการสร้างขึ้นมาใหม่เองได้ โดยผ่านกระบวนการลอกคราบ ในกรณีที่เป็นอวัยวะชิ้นใหญ่อย่างก้าม อาจจะต้องใช้เวลาลอกคราบถึง 2-3 ครั้ง ถึงจะสามารถสร้างก้ามใหม่ ที่มีสภาพสมบูรณ์และขนาดเท่าเดิมได้ ส่วนอวัยวะเล็กๆ น้อยๆ อย่างหนวด หรือขาเดินนั้น การลอกคราบเพียงครั้งเดียวก็สามารถสร้างขึ้นใหม่ได้เหมือนเดิม ทั้งนี้ กุ้งสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้หมด ยกเว้นดวงตา
เมื่อผู้เลี้ยง สังเกตเห็นว่ากุ้งเครย์ฟิชกำลังลอกคราบ ไม่ควรทำการรบกวน เพราะว่าอาจเป็นการทำลายความต่อเนื่องของกระบวนการลอกคราบ ซึ่งเมื่อกุ้งเครย์ฟิชตกใจจะทำให้กระบวนการลอกคราบไม่สมบูรณ์เต็มที่ โดยชิ้นส่วนของเปลือกชุดเก่ามักจะยังติดอยู่ในขณะที่เปลือกชุดใหม่ก็เริ่ม แข็งตัว อาจทำให้เกิดความผิดปกติ เช่น เปลือกสองชั้นนั้นซ้อนทับกันอยู่ จึงอาจจะทำให้ก้ามชุดใหม่มีการขึ้นผิดรูป บางทีอาจถึงขั้นเสียชีวิต แต่หากพลั้งเผลอไปแต่น้องกุ้งยังมีชีวิตอยู่ ก็ไม่ต้องตกใจฟูมฟาย รอลอกคราบครั้งต่อๆ ไปก็แล้วกัน หวังว่าคงกลับมาดีดังเดิมในไม่ช้าครับ
ที่มา RCIC Society

ความรู้เชิงวิชาการ เกี่ยวกับการลอกคราบของกุ้ง























องค์ประกอบหลักของเปลือกส่วนใหญ่ประมาณมากกว่า 75% 
         จะเป็นไคติน ที่เหลือจะเป็นพวกแร่ธาตุ เกลือ โปรตีนและไขมัน โดยขบวนการลอกคราบของกุ้งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น อายุกุ้ง, ปริมาณสารอาหารที่ จำเป็น, ความสมบูรณ์ของแหล่งน้ำและตัวกุ้ง รวมทั้งผลกระทบเชิงลบต่างๆ ที่ชะงักการกินอาหารของกุ้ง ในช่วงระหว่างที่กุ้งลอกคราบจะมีความแตกต่างกันในแต่ละระยะ ดังนี้การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยาที่เกิดขึ้นในวงจรการลอกคราบ
1. ระยะก่อนการลอกคราบ (Premolt) มีการเปลี่ยนแปลงคือปลาย ระยะก่อนการลอกคราบกุ้งจะไม่กินอาหาร จะสังเกตได้ว่ากุ้งเริ่มกินอาหารไม่หมด แต่กุ้งจะดึงสารอาหารและพลังงานจากอาหารที่สะสมไว้ที่ตับมาใช้แทน การสร้างคราบใหม่ จะเริ่มสร้างไคตินจากอาหารที่สะสม ไกลโคเจนที่ถูกสะสมไว้จะลดลงเนื่องจากถูกนำไปสร้างไคตินในการพัฒนาให้ เปลี่ยนเป็นเปลือกใหม่ ในระยะนี้จะพัฒนาเข้าสู่ระยะลอกคราบเร็วหรือไม่ขึ้นอยู่กับปริมาณสารอาหารที่จะพัฒนาเป็นเปลือกใหม่หากกุ้งได้รับสารอาหารและเปลี่ยนเป็นไคติ นได้มากก็จะลอกคราบได้เร็ว แต่ในกรณีหากเกิดปัญหาการกินชะงัก หรือสารอาหารไม่เพียงพอที่จะเปลี่ยนให้อยู่ในรูปไคติน ในเปลือกใหม่ช่วงระยะเวลาในการลอกคราบ ก็จะยืดออกไป3-5 วัน ระยะนี้ความต้องการออกซิเจนของเซลล์จะเพิ่มมากขึ้น จะมีการดูดซึมพวกแร่ธาตุและสารอินทรีย์ต่างๆ ที่สะสมอยู่ที่เปลือกเก่ากลับเข้าสู่ร่างกาย โดยผ่านระบบเลือด ทำให้คราบเก่าอ่อนนุ่มลง
2. ระยะลอกคราบ (Intermolt) มีการเปลี่ยนแปลง ดังนี้ใน ระยะนี้กุ้งจะหยุดการเคลื่อนไหว กิจกรรมต่างๆ เริ่มลดลง ปริมาณกลูโคส, โปรตีนและไขมัน ในเลือดจะเพิ่มสูงขึ้น รวมทั้งการรับออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายก็จะเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากกุ้งต้องใช้พลังงานมากในการลอกคราบ เมื่อลอกคราบเสร็จแล้วจะมีการดูดซึมน้ำเข้าสู่ร่างกายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยดูดซึมจากกระแสเลือดและเนื้อเยื่อของร่างกาย ระยะนี้จะสั้นมากเพราะเป็นระยะที่อันตรายที่สุดในวงจรชีวิต มักพบการสูญเสียกับกุ้งที่สะสม สารอาหารไม่เพียงพอ กุ้งลอกคราบไม่ออก ลอกคราบติด เปลือกนิ่ม ตัวกรอบแกรอบ และมักกินกันเอง
3. ระยะหลังการลอกคราบ (postmolt)หลัง จากการถอดคราบสมบูรณ์แล้ว การสะสมแคลเซียมก็เริ่มต้นทันทีเพื่อช่วยเร่งการแข็งตัวของเปลือก ระยะนี้จะมีการดึงน้ำและแร่ธาตุเข้าสู่ร่างกายมากที่สุด เพื่อเพิ่มขนาดและน้ำหนักของร่างกาย มีการสะสมแคลเซียมที่ บริเวณคราบชั้นนอก เมื่อเปลือกเริ่มแข็งก็จะเริ่มมีการเคลื่อนไหว และเริ่มกินอาหารเพิ่มขึ้น หลังจากระยะพักจากการลอกคราบ คราบใหม่แข็งหลัง การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อเสร็จสมบูรณ์ อาหารที่กุ้งกินในแต่ละวันจะเริ่มเพิ่มมากขึ้น อาหารที่กินเข้าไปจะถูกใช้ไปในการดำรงชีวิตประจำวัน ส่วนที่เหลือจะถูกเปลี่ยนไปให้สะสมในตับ อยู่ในรูปของสารอาหารพวก โปรตีน ไขมัน และ ไกลโคเจน เพื่อเป็นอาหารและพลังงานสำรองในการเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของสารที่จำเป็นใน การสร้างเปลือกใหม่อีกครั้ง ด้วยกลไกทางธรรมชาติ กุ้งจะรู้ตัวเองว่าสารอาหารต่างๆ ที่สะสมไว้เพียงพอ สำหรับการลอกคราบแล้ว การกินอาหารจะเริ่มลดลงเล็กน้อยและเตรียมเข้าสู่ระยะลอกคราบอีกครั้งเป็น วัฏจักรเช่นนี้ตลอดช่วงความถี่ ในการลอกคราบแต่ละครั้งกุ้งจะมีความถี่และความห่างในการลอกคราบแต่ระยะแตกต่างกันตามอายุของกุ้ง ดังนี้

* กุ้งน้ำหนักประมาณ 2-5 กรัม (อายุประมาณไม่เกิน 30 วัน) ช่วงการลอกคราบ 6-7 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 6-9 กรัม (อายุ 1-2 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 7-8 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 10-15 กรัม (อายุ 2-3 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 9-10 วัน/ครั้ง
* กุ้งน้ำหนักประมาณ 16-22 กรัม(อายุ 3-4 เดือน) ช่วงการลอกคราบ 12-13 วัน/ครั้ง

CONVERSATION

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponsor

ป้ายกำกับ

การจดทะเบียนเพื่อขอเลี้ยงกุ้งโกส และ กุ้งก้ามแดง การจับคู่ผสมพันธุ์ของกุ้งเครฟิช (Crayfish Mating) การช่วยชีวิตกุ้งลอกคราบไม่ผ่าน การเช็คความพร้อมของกุ้งตัวเมีย โดยใช้วิธีการดูฝ้าที่หาง การเตรียมตู้อนุบาลลูกกุ้ง แรกเกิด การผสมพันธุ์กุ้งก้ามแดง หรือ เครฟิต การลอกคราบนั้นเป็นอย่างไร ทำไมถึงลอกคราบไม่ผ่าน การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงโดยไม่ใช้อ๊อกซิเจน‬ จ้า การเลือกซื้อน้องกุ้งเครฟิต การสลัดไข่ของกุ้งก้ามแดง กุ้งโกสไข่ กุ้งโกสด่างวัว กุ้งโกสมิก กุ้งโกส ราคา กุ้งโกสลอกคราบ กุ้งโกสส้ม กุ้งเครฟิตสายพี กุ้งเป็นสนิมทำไง กุ้งลอกคราบไม่ผ่าน กุ้งสายพี กุ้งสาย P โกส ด่างวัว โกสแท้ เคลียร์แท้ ดูอย่างไร โกส ลายธงชาติ ใช้ใบหูกวางเพิ่มอัตรารอดลูกกุ้ง ตู้กุ้งโกส ทำไมกุ้งลอกคราบไม่ผ่าน ปล่อยกุ้งโกสยังไงให้รอด ปล่อยกุ้งเรดบียังไงให้ถูกวิธี มือใหม่ หัดเลี้ยง โกส ลักษณะของโกสต์ ดูได้อย่างไร มาดูกัน ล้างกรองและฟองน้ำเมื่อไหร่ดี ?? ลูกกุ้งโกสลงเดิน เลี้ยงกุ้งก้ามแดง เลี้ยงกุ้งโกสในห้องแอร์ เลี้ยงกุ้งโกส มือใหม่ เลี้ยงกุ้งโกสไม่ใช้ออกซิเจน เลี้ยงลูกกุ้งลงเดิน อย่างไร ให้โตเร็ว วิธีการกำจัดปรสิต ให้พ้นไปจากกุ้งเครฟิช วิธีจัดตู้เลี้ยงกุ้ง วิธีใช้ ใบหูกวาง ให้กับกุ้งเครฟิต วิธีใช้ EM ในตู้กุ้ง วิธีดูกุ้งไข่ วิธีเพาะพันธุ์กุ้งเครฟิช "หม้อแม่นาค" วิธีเพาะพันธุ์กุ้งเครฟิช "หม้อแม่นาค" Part2 วิธีเพาะพันธุ์โกส ตามสไตสเซียน วิธีล้างกรองตู้กุ้งโกส วิธีเลี้ยงกุ้งโกส วิธีเลี้ยงกุ้งเครฟิช ฉบับย่ออ่านกันง่าย วิธีเลือกอาหารสำหรับกุ้ง สโนว สร้างรายได้กับ กุ้งก้ามแดง สายด่าง สายม่วง สีของกุ้งมีผลกับความแข็งแรงไหมค่ะ