การเลือกซื้อน้องกุ้งเครฟิต


การเลือกซื้อน้องกุ้งเครฟิต



         1. เลือกซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้และผู้ขายสามารถให้ความรู้กับเราได้ในเบื้องต้น  
         2. เลือกตัวที่แข็งแรงให้ลองแหย่ ๆ เค้าดูถ้าตัวไหนชูก้ามสู้  หรือมีปฏิกิริยากระโดดหนี อย่างรวดเร็วเป็นต้น  ที่สำคัญตาต้องอยู่ครบเพราะไม่สามารถงอกใหม่ได้



การเลือกซื้อตู้ให้เหมาะสม

          เครฟิชเป็นกุ้งที่ต้องการพื้นที่  เพื่อลดการปะทะหรือให้น้องกุ้งได้มีพื้นที่เดินบ้างจะได้แข็งแรง
จากประสบการณ์ส่วนตัวที่สังเกตุมาน้องกุ้งตัวไหนที่เดินเก่ง ๆ ขนหิน  มีกิจกรรมตลอดเวลา ชอบปีนป่าย กุ้งพวกนี้จะมีรูปร่างสวยงามแข็งแรงกว่ากุ้งที่ชอบหมอบ ๆ และหลบ ๆ ตัวอย่างตู้ที่ใช้เลี้ยงจะเป็นทรงสี่เหลี่ยมจตุรัส  (ทรง Cube) เพื่อให้มีพื้นที่มากพอ สำหรับน้องกุ้งเค้าค่ะ  



วัสดุปูพื้นตู้

          โดยส่วนตัวแล้วชอบหินนิลดำเพราะทำให้น้องกุ้งสีสวยขึ้น  ราคาถูก  และทำความสะอาดง่ายค่ะ

การให้อาหาร

          จะให้อาหารวันละสองครั้งเช้าและค่ำ ๆ ค่ำ  พยายามให้อาหารให้ตรงเวลาค่ะน้องกุ้งจะได้สุขภาพดี และก็เก็บเศษอาหารออกให้หมดค่ะ  สังเกตพฤติกรรมการกินอาหารของน้องกุ้งด้วยค่ะเพราะการ
ไม่กินอาหารของน้องกุ้งบ่งบอกว่าน้องกำลังจะลอกคราบค่ะ  จะได้แยกเค้าออกทัน

การลอกคราบ

            เป็นเรื่องสำคัญมาก ๆ ค่ะสำหรับการเลี้ยงรวม 90 เปอร์เซ็นต์ของกุ้งเครฟิชจะหยุดกินอาหารก่อนจะลอกคราบประมาณ 1-2 วันและจะแยกตัวออกจากกลุ่มเพื่อน ๆ หรือปีนขึ้นไปอยู่ที่สูง หรือไม่ก็หลบในมุมที่ไม่ค่อยมีกุ้งตัวอื่น ๆ เข้าไปกวน สิ่งที่สังเกตุได้ง่ายอีกอย่างคือสีของน้องกุ้งจะทึบและเข้มขึ้นกว่าปกติ  

การผสมพันธุ์

              เอาล่ะตอนนี้มาถึงเรื่องที่เพื่อน ๆ หลายคนอยากรู้ว่าทำยังไงทำไมถึงท้องเยอะจัง ก็ต้องบอกว่าไม่ได้มีเคล็ดลับอะไรมากมายค่ะ  ให้อาหารก็ยี่ห้อที่ทั่ว ๆ ไปเค้าใช้กัน แต่จะเสริมด้วยอาหารสดบางอย่างเช่น  หนอนแดง  กุ้งฝอยต้ม  แครอท  สาหร่ายหางกระรอก เมื่อเค้าโตประมาณ 2.5 นิ้ว  น้องเครเค้าจะมีสัญชาตญาณหื่นขึ้นมาเองค่ะ  เค้าก็จะเริ่ม ผสมกันให้เห็นบ่อยครั้งค่ะ  และในตู้ส่วนใหญ่จะใส่ตัวเมียไว้มากกว่าตัวผู้เสมอ  (เหมือนฮาเร็ม) เพื่อที่ตัวผู้จะสามารถผสมพันธุ์กับตัวเมียสลับไปสลับมาได้  เพราะถ้าอยู่ในตู้กันสองต่อสอง ตัวผู้บางตัวที่หื่น จัดๆ อาจข่มขืนตัวเมียจนตายได้ค่ะ  (หลายท่านคงเจอมาแล้ว)  หลังจากเค้าเริ่มผสมพันธุ์กันสิ่งที่จะเกิดขึ้นเลยคือพฤติกรรมการกินอาหารของเค้า จะกินน้อยลงอย่างเห็นได้ชัดทั้งตัวผู้และตัวเมีย  และตัวเมียก็จะหมอบ ๆ หางม้วน ๆ ค่ะ บางท่านอาจจะแยกตัวเมียออกไปโดยปกติแล้วหลังจากผสมแล้วประมาณ 15 วัน ก็จะรู้ผลแล้วว่าติดหรือไม่  ถ้าไม่ก็ผสมซ้ำได้เลย     แต่ประสบการณ์ส่วนตัวเรา ใช้วิธีสังเกตุว่าตัวเมียในตู้ตัวไหนถูกผสมบ่อยสุ จะคอยจับตาพฤติกรรมเค้าเป็นพิเศษ   ถ้าเค้าจะไข่เค้าจะหาที่มุด ๆ หลบ ๆ ตามใต้ขอนไม้หรือในบ้าน และจะดุมากใครเข้าไปใกล้ ๆ เค้าจะชูก้ามขู่เพื่อไม่ให้ตัวอื่นมายุ่มยามบริเวณบ้านเค้า และที่สำคัญเลยเค้าจะไม่ออกมากินอาหารเราก็จะเขี่ย ๆ ดูว่ามีไข่รึเปล่าถ้าไข่ ก็จะใช้วิธีแยกตัวที่ไข่ออกมาจากตู้  แต่...  ก่อนจะแยกกุ้งไข่จากตู้สิ่งที่ต้องทำก่อนคือจัดตู้คุณแม่กุ้งให้เรียบร้อยตอนแรก ๆ เลยเราใช้ตู้กระจกธรรมดานี่แหละค่ะให้ แม่กุ้งอยู่แล้วใช้ฟิวเจอร์บอร์ดปิดรอบตู้ให้มืด ๆ เพื่อไม่ให้แม่กุ้งเครียด




         แต่ตอนหลังเราใช้ถังพลาสติกค่ะใหญ่ ๆ กว่าตู้ 24 ค่ะ  จำไซส์ไม่ได้แล้ว แล้วเอาน้ำในตู้ที่แม่กุ้งเค้าอยู่เดิมนั่นแหละใส่ลงไป  ใส่กรองฟองน้ำลงไป แล้วก็ค่อย ๆ ช้อนแม่กุ้งมาใส่ในขันซึ่งขันนั้นต้องมีน้ำอยู่ด้วยนะคะน้ำก็ เป็นน้ำในตู้เค้าแหละค่ะ  เวลาช้อนก็ค่อย ๆ นะคะอย่าให้คุณแม่เค้าตกใจ จนกระโดดล่ะเดี๋ยวไข่หลุดหมด  โดยส่วนตัวก็จะคุยกับคุณแม่กุ้งเค้า บอกเค้าว่ามาหาแม่มามะ  เดี๋ยวแม่พาไปอยู่ที่ใหม่ไม่มีใครมารบกวน เลยนะลูกนะ  เค้าจะได้รีบมาไงคะ  อิอิ  

           แล้วก็เอาขันนั้นน่ะมาค่อย ๆ เอียงนะคะให้น้ำในถังค่อย ๆ ไหลเข้าไปในขัน ให้เค้าชิน ๆ หน่อยแล้วก็ค่อย ๆ เทเค้าเบา ๆ ลงไปในถัง  หลังจากนั้นก็ ใช้ฟิวเจอร์บอร์ดสีดำ ๆ ปิดปากถังไม่ต้องปิดหมดนะคะ แค่ครึ่งเดียวก็พอ ไม่ให้มีแสงสว่างมากนัก  แต่อย่าปิดหมดนะคะเพราะจำทำให้อบค่ะ อุณหภูมิของน้ำอาจสูงขึ้นได้ แค่นี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นการจัดที่อยู่สำหรับคุณแม่กุ้งกันแล้ว

การให้อาหารคุณแม่กุ้งเครฟิช

                การให้อาหารไม่ต้องมากค่ะเช่น  กุ้งฝอยต้ม 1 ตัวเค้าก็กินไม่หมดแล้ว เพราะระยะที่เค้าอุ้มไข่แม่กุ้งจะอดอาหารเพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเองลอกคราบ ในขณะอุ้มไข่ค่ะ  ให้วันละ 1 มื้อก็เพียงพอค่ะ  หลังจากให้อาหารแล้ว ประมาณ 2-3 ชม. ให้ดูว่าหมดไม๊  ก็ให้เก็บเศษอาหารที่เหลือออก ทันทีค่ะ   สิ่งที่พึงระวังอย่างมากคือคุณภาพน้ำค่ะ  ควบคุมคุณภาพน้ำ ให้ดีค่ะอย่าให้มีของเสียเยอะเพราะแม่กุ้งจะสลัดไข่ทิ้งค่ะ  

อุณหภูมิ

การจัดวางตู้คุณแม่กุ้งสถานที่เป็นสิ่งสำคัญมากให้ดูว่าตรงไหนที่จะไม่ทำให้
อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนขึ้นลงเร็วเกินไปค่ะ   อุณหภูมิของน้ำที่เหมาะสม
จะอยู่ที่ประมาณ 27  องศา ค่ะ  พยายามควบคุมอย่าให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลง
มากนักเช่น ไม่ควรขึ้นหรือลงเกิน 2 องศาค่ะ  เพราะจะทำให้คุณแม่กุ้ง
เกิดความเครียดและสลัดไข่ทิ้งเช่นกัน

สิ่งสำคัญอีกอย่างที่ช่วยควบคุมไม่ให้อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงมาก  และรวดเร็ว
คือปริมาณของน้ำค่ะ  ดังนั้นสิ่งสำคัญคือตู้คุณแม่กุ้งต้องใหญ่ ๆ ค่ะ  
น้ำต้องเยอะ ๆ ค่ะ  อุณหภูมิของน้ำจะไม่เปลี่ยนแปลงมากค่ะ

ระยะเวลาการการฟักไข่

            หลังจากที่คุณแม่เค้าเริ่มไข่แล้วจะให้ระยะเวลาประมาณสามสัปดาห์สีของไข่ จะเริ่มทยอยเปลี่ยนสี  อย่างเช่น  อัลลินี่ไข่ระยะแรกสีจะดำ  หลังจากนั้น ไข่จะพัฒนาค่อย ๆ ทยอยเปลี่ยนสีเป็นใส ๆ และเริ่มเห็นเป็นตัวและลูกตา ของน้องกุ้งตัวน้อย ๆ พร้อมที่จะออกมาชมโลก  

          สีไข่ของกุ้งแค่ละสีจะไม่เหมือนกันนะคะ  เช่น อัลลินี่ไข่จะสีดำ ในระยะแรก  สโนว์ไข่จะสีขาว บลูสป็อตไข่จะอีกสีน้ำตาลนิด ๆ ค่ะ แต่ระยะสุดท้ายจะพัฒนาเป็นใส ๆ และมีจุดสองจุดคือลูกตาน้องกุ้งนั่นเอง  นับจากวันที่อุ้มไข่ประมาณ 30 วันไข่ที่ถูกผสมจะพัฒนาเป็นลูกกุ้ง ส่วนไข่ที่ไม่ผสมคุณแม่กุ้งเค้าก็จะสลัดทิ้งไปโดยตัวเค้าเองค่ะ ระยะนี้คุณแม่กุ้งเค้าจะยืนนิ่ง ๆ ทั้งวันค่ะ  เพื่อให้เจ้ากุ้งน้อย ๆ  ที่พร้อมแล้วกระโดดออกมาจากระยางค์ของเค้า  ระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-4 วันโดยประมาณแล้วแต่ปริมาณ
ของไข่ที่ฟักค่ะ

การดูแลคุณแม่กุ้งหลังคลอดและเด็ก ๆ 



               หลังจากเจ้าตัวน้อย ๆ ออกมาเดินเป็นยุงกันเต็มแล้วคุณแม่กุ้งเค้าก็จะเริ่มกินอาหารมากขึ้นค่ะ  เพื่อสะสมอาหารสำหรับการลอกคราบ  โดยปกติแล้วพอเจ้าตัวน้อยออกไปหมดแล้วเราก็จะทำการแยกแม่กุ้งออกเลยค่ะ  แล้วก็ให้เค้ากินอาหาร  หลังจากนั้น ประมาณ 2 สัปดาห์คุณแม่เค้าก็จะลอกคราบค่ะ  คุณแม่บางตัว อาจลอกคราบถึงสองครั้งหลังจากการอุ้มท้อง  แต่บางตัวก็ลอกแค่ครั้งเดียวค่ะ

                    ส่วนลูกกุ้งนั้น  เราก็จะใส่สาหร่ายหางกระรอกให้เค้าเยอะ ๆ ค่ะ สำหรับเป็นที่หลบภัย  และก็เป็นอาหารได้ด้วย ผ่านไปประมาณ 1 สัปดาห์ก็จะเริ่มให้อาหารเม็ดค่ะ ที่ใช้อยู่จะเป็น เตตร้าครัสต้าค่ะ  ที่เป็นแผ่นบาง ๆ ค่ะ ที่เลือกใช้แบบนี้เพราะแผ่นบาง ๆ สามารถละลายน้ำ ได้ง่ายเหมาะสำหรับลูกกุ้งวัยอนุบาลค่ะ กินง่าย ตอนแรกเคยทดลองให้ไข่ต้มค่ะ  แต่ปรากฎว่ากุ้งกินค่ะ แต่ไม่เป็นผลดีกับน้ำเลยทำให้น้ำเสียและลูกกุ้งก็ ตายไปหลายตัวเหมือนกันค่ะ

                    การให้อาหารก็กะเอาค่ะไม่ต้องมากค่ะ  เพราะเราใส่สาหร่ายหางกระรอกอยู่แล้วยังไงน้องกุ้งน้อยเค้าก็มีสาหร่ายให้แทะกินได้ตลอดเวลาค่ะ ไม่ต้องกลัวเค้าจะหิวเพราะถ้าอาหารเหลือน้ำเสีย อาจถึงตายได้ค่ะ

ตู้สำหรับกุ้งวัยอนุบาล

                    หลังจากน้องกุ้งเริ่มตัวโตขึ้นแล้ว   เราก็จะค่อย ๆ แยกน้องกุ้งออกไปค่ะเฉลี่ย ๆ ดู  อย่าให้แออัดมากนักเพราะน้องกุ้งเค้าจะกินกันเองตอนลอกคราบได้ค่ะ

ด้วยความปรารถนาดีจาก  ณัฐ Yabby House 

CONVERSATION

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

Sponsor

ป้ายกำกับ

การจดทะเบียนเพื่อขอเลี้ยงกุ้งโกส และ กุ้งก้ามแดง การจับคู่ผสมพันธุ์ของกุ้งเครฟิช (Crayfish Mating) การช่วยชีวิตกุ้งลอกคราบไม่ผ่าน การเช็คความพร้อมของกุ้งตัวเมีย โดยใช้วิธีการดูฝ้าที่หาง การเตรียมตู้อนุบาลลูกกุ้ง แรกเกิด การผสมพันธุ์กุ้งก้ามแดง หรือ เครฟิต การลอกคราบนั้นเป็นอย่างไร ทำไมถึงลอกคราบไม่ผ่าน การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงโดยไม่ใช้อ๊อกซิเจน‬ จ้า การเลือกซื้อน้องกุ้งเครฟิต การสลัดไข่ของกุ้งก้ามแดง กุ้งโกสไข่ กุ้งโกสด่างวัว กุ้งโกสมิก กุ้งโกส ราคา กุ้งโกสลอกคราบ กุ้งโกสส้ม กุ้งเครฟิตสายพี กุ้งเป็นสนิมทำไง กุ้งลอกคราบไม่ผ่าน กุ้งสายพี กุ้งสาย P โกส ด่างวัว โกสแท้ เคลียร์แท้ ดูอย่างไร โกส ลายธงชาติ ใช้ใบหูกวางเพิ่มอัตรารอดลูกกุ้ง ตู้กุ้งโกส ทำไมกุ้งลอกคราบไม่ผ่าน ปล่อยกุ้งโกสยังไงให้รอด ปล่อยกุ้งเรดบียังไงให้ถูกวิธี มือใหม่ หัดเลี้ยง โกส ลักษณะของโกสต์ ดูได้อย่างไร มาดูกัน ล้างกรองและฟองน้ำเมื่อไหร่ดี ?? ลูกกุ้งโกสลงเดิน เลี้ยงกุ้งก้ามแดง เลี้ยงกุ้งโกสในห้องแอร์ เลี้ยงกุ้งโกส มือใหม่ เลี้ยงกุ้งโกสไม่ใช้ออกซิเจน เลี้ยงลูกกุ้งลงเดิน อย่างไร ให้โตเร็ว วิธีการกำจัดปรสิต ให้พ้นไปจากกุ้งเครฟิช วิธีจัดตู้เลี้ยงกุ้ง วิธีใช้ ใบหูกวาง ให้กับกุ้งเครฟิต วิธีใช้ EM ในตู้กุ้ง วิธีดูกุ้งไข่ วิธีเพาะพันธุ์กุ้งเครฟิช "หม้อแม่นาค" วิธีเพาะพันธุ์กุ้งเครฟิช "หม้อแม่นาค" Part2 วิธีเพาะพันธุ์โกส ตามสไตสเซียน วิธีล้างกรองตู้กุ้งโกส วิธีเลี้ยงกุ้งโกส วิธีเลี้ยงกุ้งเครฟิช ฉบับย่ออ่านกันง่าย วิธีเลือกอาหารสำหรับกุ้ง สโนว สร้างรายได้กับ กุ้งก้ามแดง สายด่าง สายม่วง สีของกุ้งมีผลกับความแข็งแรงไหมค่ะ